เปิดไฟหน้ารถ แต่ไม่ควรเปิดไฟฉุกเฉิน

25/05/66

เปิดไฟหน้ารถ แต่ไม่ควรเปิดไฟฉุกเฉิน

เปิดไฟหน้ารถ ช่วยให้มองเห็นชัดขึ้น และไม่สมควรที่จะเปิดไฟฉุกเฉิน ถ้าเปิดไฟฉุกเฉินขณะขับรถ จะไม่สามารถให้สัญญาณเมื่อต้องการเปลี่ยนเลน ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายจากการที่รถที่ตามมาด้านหลังคาดเดาทิศทางของรถไม่ได้ เมื่อมีอุบัติเหตุ ต้องเปิดไฟฉุกเฉินและจอดที่ข้างทาง

ขับให้ช้าลง ลดความเร็ว
เมื่อฝนตก สิ่งสกปรกและน้ำมันบนถนนจะรวมตัวกันทำให้ถนนลื่นทำให้รถเกิดการไถลได้ ทางที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงการลื่นไถล คือ การขับขี่ให้ช้าลง การขับขี่ที่ช้าลงทำให้ดอกยางสามารถสัมผัสถนนได้มากขึ้น ทำให้การเกาะถนนดีขึ้น. ควรใช้ความเร็วที 60 กม/ชม.

เปิดที่ปัดน้ำฝน
ปรับระดับความเร็วให้เหมาสม ใช้น้ำล้างกระจก ช่วยล้างคราบสกปรกที่กระเด็นมา

เรียนรู้ไว้ว่าต้องทำอย่างไร เมื่อเกิดการลื่นไถลขึ้นการลื่นไถลเกิดขึ้นได้เสมอ จำไว้ว่าอย่าเหยียบเบรคอย่างรุนแรงเมื่อเกิดการลื่นไถล อย่าย้ำเบรคซ้ำๆ ถ้ารถของคุณมีระบบป้องกันล้อล๊อกจากการเบรค (ABS) สิ่งที่ต้องทำเมื่อเกิดการลื่นไถลคือ เหยียบเบรคอย่างมั่นคง ที่ระดับความหนักที่สม่ำเสมอ และ ควบคุมพวงมาลัยให้อยู่ในทิศทางที่รถไถลไป

ขับตามคันข้างหน้า
พยายามหลีกเลี่ยง การใช้เบรค ใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น เปิดไฟหน้ารถ เพื่อช่วยในการมองทาง และ ทำให้รถคันอื่นเห็นรถคุณได้ดีขึ้น.ทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้าควรทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้าพอสมควร เนื่องจากในสภาวะอากาศที่ไม่ปกติอาจจะเกิดอุบัติเหตุได้ตลอดเวลา การทิ้งระยะห่างจากคันหน้าจะสามารถทำให้เราเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้เสมอ

ศึกษา เวลาฝนตก 'เหยียบเบรค' อย่างไรให้ปลอดภัยเรียนรู้ว่าจะหลีกเลี่ยงและรับมือกับการเหิรน้ำได้อย่างไรการเหิรน้ำเกิดขึ้นเมื่อปริมาณน้ำที่อยู่ที่หน้ายางรวมตัวกันมากกว่าปริมาณน้ำที่ยางสามารถไล่ออกไปได้ แรงดันของน้ำทำให้ยางยกตัวสูงขึ้นจากพื้นถนน และไถลอยู่บนฟิล์มบางๆ ของน้ำที่อยู่ระหว่างยางกับถนน ดังนั้นการเจอแอ่งน้ำตามถนนอาจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ควรเตรียมพร้อมโดยการขับขี่ทั้งสองมือและประคองพวงมาลัยให้มั่นคงเมื่อคาดเดาว่าจะเจอแอ่งน้ำ เพราะการเหิรน้ำจะทำให้รถสะบัดและอาจจะเปลี่ยนทิศทางได้ง่าย ซึ่งควรจะเตรียมพร้อมรับมือโดยการไม่ขับรถเร็วเกินไปและควรหลีกเลี่ยงแอ่งน้ำ

ตรวจสภาพยาง
หมั่นตรวจตรวจสภาพยางก่อนใช้งานเสมอ ทำให้เกาะถนนได้ดีขึ้น และแน่ใจว่าคุณได้ทำตามขั้นตอนในการบำรุงรักษาดังต่อไปนี้

เติมลมยางให้เหมาะสม ตามข้อแนะนำของบริษัทผลิตรถยนต์ มีสติ๊กเกอร์ข้อมูลแนะนำความดันลมยางปิดไว้บริเวณขอบประตูรถ และอยู่ในคู่มือประจำรถ ขนาดความดันลมยางที่อยู่บนแก้มยางเป็นตัวเลขที่บอกความสามารถในการรับแรงดันสูงสุดของยางเส้นนั้นๆ ไม่ได้เป็นแรงดันลมที่เหมาะสมในการใช้งาน คุณควรตรวจแรงดันลมยางอย่างน้อยเดือนละครั้งตรวจความลึกดอกยาง ความลึกเหมาะสมของดอกยางที่เหลืออยู่เป็นตัวป้องกันการลื่นไถล หรือ การเหิรน้ำ. ถ้าท่านนำรถเข้าศูนย์บริการ อีซูซุปฐมยนตรดาญจน์  ช่างจะตรวจเข็คสภาพยางทุกตรั้ง เพื่อความปลอดภัยของลูกค้า

เตรียมการสำหรับการเดินทาง
การขับขี่บนถนนเปียกต้องการการควบคุมอย่างนุ่มนวลไม่กระแทกกระทั้น ในการบังคับเลี้ยว การเร่ง และ การเบรค เมื่อคุณขับรถในวันฝนตก รองเท้าอาจจะเปียกและลื่นออกจากแป้นคันเร่ง หรือ เบรคได้ง่าย ให้เช็ดพื้นรองเท้ากับพรมรองพื้นในรถก่อนสต๊าร์ทเครื่องยนต์ ผู้ขับรถทุกคนควรตรวจ ไฟหน้ารถ ไฟท้าย ไฟเบรค และไฟเลี้ยว ว่าสามารถทำงานได้ตามปกติ เมื่อถนนเปียกระยะเบรคจะเพิ่มเป็น 3 เท่า จากถนนแห้ง ดังนั้นในการขับขี่จะต้องเว้นระยะห่างจากคันหน้าให้มากขึ้น

ถ้าฝนตกหนักมากให้หยุดรถ
กรณีฝนตกหนักมากๆ ใบปัดน้ำฝนจะไม่สามารถปัดน้ำออกได้ทัน ถ้าฝนตกหนักจนมองทางไม่ชัดหรือมองรถคันอื่นไม่ชัดในระยะห่างที่ปลอดภัย ให้จอดรถในบริเวณที่ปลอดภัย จนกระทั้งฝนซา หรือ หยุด กระณีที่ต้องจอดบนไหล่ทาง ให้จอดรถห่างจากถนนให้มากที่สุด และ เปิดไฟฉุกเฉินไว้ด้วย เพื่อเตื่อนให้รถที่วิ่งมารู้ว่ามีรถจอดอยู่

ฝนที่ตกในช่วงแรกจะทำให้ถนนลื่นที่สุด
ฝนที่ตกในช่วงแรกจะทำให้การขับขี่ยากที่สุดเพราะ โคลน และ น้ำมันที่อยู่บนพื้นผิวจะรวมตัวกับน้ำฝน กลายเป็นชั้นผิวลื่นๆบนพื้นถนน ดังนั้นคุณต้องเพิ่มความระมัดระวังอย่างมากในช่วงที่ฝนตก

วันที่อากาศมีเมฆมาก จะทำให้การมองเห็นลดลงใช้ความระมัดระวังมากขึ้นเมื่อขับผ่านรถคันอื่น

ทำให้เบรคแห้งหลังจากลุยน้ำมา
แตะเบรคเบาๆ เพื่อให้ผ้าเบรคแห้ง หลังจากลุยน้ำหรือแอ่งน้ำ

อย่าขับรถขณะคุณอ่อนล้า
หยุดพักทุกๆ 2-3 ชั่วโมง หรือ ทุกๆ 100 กิโลเมตร เพื่อบรรเทาความเมื่อยล้า

สนใจ รถกระบะ dmax, รถกระบะ4ประตู ติดต่อได้ที่ ศูนย์ บริการ isuzu
Facebook : singburiisuzusales
Line : @isuzusingburi
Phone : 036-512-788

บทความที่น่าสนใจ

Copyright @ 2022 SINGBURI ISUZU SALE